Welcome to My "favorite subject" Blog....

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

ความซื่อสัตย์



ความซื่อสัตย์คืออะไร

         คำว่าซื่อสัตย์  มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2526 ว่า
“ซื่อตรงและจริงใจ หรือ ไม่คิดคดทรยศ  หรือ ไม่คดโกงและไม่หลอกลวง”

 ครอบครัวต้องทำอย่างไร

           หน้าที่หรือความรับผิดชอบของครอบครัว   ที่จะต้องร่วมกันสร้างความซื่อสัตย์ให้เกิด เป็นรูปธรรมขึ้นคือการสร้างจิตสำนึกขึ้นในตัวของบุคคลในครัวครัว โดยเริ่มที่ตนเองก่อน  โดยการทำตนเป็นคนซื้อสัตย์ต้นแบบ  ผู้เป็นหัวหน้าครอบครัว  ต้องทำตนเป็นต้นแบบหรือเป็นแม่พิมพ์ แห่งความซื่อสัตย์ต่อภรรยา  ต้นแบบแม่พิมพ์ของลูก ๆ ในขณะเดียวกัน   ผู้คนในครอบครัวต้องร่วมกันแสดงพลังแห่งการสนองตอบ  บนพื้นฐานแห่งจิตสำนึกขึ้นมา
 นั่นคือการแสดงออกบนวิถีแห่งความซื้อสัตย์ต่อกันในทุกกรณี  จริงใจต่อพฤติกรรมที่แสดงออกต่อกัน บนพื้นฐานแห่งการรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม  ในเมื่อแต่ละครอบครัวสร้างจิตสำนึกของความซื่อสัตย์ให้เกิดขึ้นในจิตใจที่บริสุทธิ์แล้ว  จิตสำนึกแห่งความซื่อสัตย์ย่อมต่อยอดออกไปสู่สังคมที่กว้างใหญ่ได้โดยมิต้องสงสัย   เพราะจิตสำนึกนั้นได้ฝังลึกลงไปในจิตใจของผู้คนในแต่ละครอบครัวแล้ว

           สุดท้ายนี้  ข้าพเจ้าขออนุญาตนำเอาบทกลอนสอนใจอีกบทหนึ่ง ซึ่งท่านอาจารย์ บัวกันต์  วิลามาศ 
ศิลปินดีเด่น สาขาวรรณศิลป์  ของสภาวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ  ได้ประพันธ์ไว้ว่า

ซื่อสัตย์คือสัตย์ซื่อ 
ต้องยึดถือเป็นต้นหน
ซื่อสัตย์เกิดที่ตน  
ในทุกคนจึงต้องมี

ซื่อสัตย์เริ่มที่บ้าน 
ร่วมประสานเพื่อศักดิ์ศรี
ซื่อสัตย์คือความดี 
บ้านเมืองนี้จะร่มเย็น

ซื่อสัตย์จะเกิดก่อ            
 ผลิแตกหน่อมาให้เห็น
ซื่อสัตย์ทำให้เป็น 
อย่าทำเล่นจะเสียงาน

ซื่อสัตย์เถิดพี่น้อง 
ไทยทั้งผองร่วมประสาน
ซื่อสัตย์เริ่มที่บ้าน 
แผ่กิ่งก้านสร้างสังคม.  

อ.วิสัยธรรม พุทธชาติ

อาจารย์ผู้สอนวิชาสังศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

หน้าที่พลเมือง

หน้าที่พลเมืองฯ

สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของประชาชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

สิทธิของปวงชนชาวไทย ตามกฏหมายได้บัญญัติไว้ ดังนี้

- สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฏหมายโดยเท่าเทียมกัน หมายถึง การที่ประชาชนชาวไทยมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันตามกฏหมาย โดยไม่คำนึงถึง เพศ วัย ศาสนา

– สิทธิทางการเมือง หมายถึง ประชาชนมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็น การเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง

- สิทธิของบุคคลในทรัพย์สิน หมายถึง ประชาชนมีสิทธิที่เจ้าของทรัพย์สินส่วนบุคคลได้ เช่น ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของตนได้ตามต้องการ ซึ่งบุคคลอื่นจะล่วงละเมิดทรัพย์สินส่วนบุคคลไม่ได้

– สิทธิในครอบครัว หมายถึง การที่ประชาชนจะได้รับความคุ้มครองจากรัฐในเรื่องเกียรติยศ ชื่อเสียง และการดำรงชีวิตในสังคม

– สิทธิในการเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ หมายถึง การที่ประชาชนเมื่อได้รับความไม่เป็นธรรมหรือถูกละเมิด ไม่ว่าในกรณีใดๆ ประชาชนมีสิทธิที่จะเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ต่อทางราชการได้

– สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาโทษอย่างเป็นธรรม โดยได้รับสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้สุจริต สิทธิที่จะได้รับค่าทดแทน หากศาลพิพากษาว่าเป็นผู้บริสุทธิ์

บุคคลจะใช้สิทธิตามอำเภอใจไม่ได้ แต่จะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตและหลักการที่กฏหมายกำหนด โดยใช้โดยสุจริตและไม่ขัดต่อหลักศีลธรรมและความสงบเรียบร้อย ไม่ขัดต่อกฏหมาย ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น การใช้สิทธิสามารถทำได้ด้วยตนเองและแต่งตั้งมอบอำนาจ เป็นลายลักษณ์อักษรหรือเรียกว่ามอบฉันทะ ให้ไปทำแทนผู้มีสิทธินั้นๆ ก็ได้ แต่สำหรับสิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้แทนราษฏรนั้น ไม่สามารถใช้แทนกันได้ หรือการใช้สิทธิแทนผู้เยาว์ หรือบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์ตามกฏหมายก่อนจึงจะใช้สิทธินั้นได้